ประกาศเกี่ยวกับข้อกำหนดการฉีดวัคซีนไข้เหลือง

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 ให้ผู้เดินทางที่มาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง ต้องปฏิบัติดังนี้ ผู้เดินทางที่มาจากเขตติดโรคไข้เหลืองจะต้องมีใบสำคัญรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง ใบสำคัญรับรองนี้จะเริ่มมีผลใช้บังคับได้เมื่อพ้น 10 วันนับแต่วันที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง ซึ่งจะมีอายุการใช้บังคับตลอดชีพของผู้เดินทาง ในรายที่มีการฉีดวัคซีนซ้ำภายในเวลา 10 ปีจะเริ่มมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ได้รับการฉีดวัคซีนนั้น ถ้าผู้เดินทางผู้ใดไม่มีใบสำคัญรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองดังกล่าว ผู้นั้นอาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง และให้อยู่ในระหว่างกักกันตัว (Quarantine) มีกำหนด 6 วัน

ผู้เดินทางที่มาจากเขตติดโรคไข้เหลืองจะต้องแสดงเอกสาร เรียกว่า “เอกสารระหว่างประเทศรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง” (International Health Certificate on Yellow Fever Vaccination) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางถึงประเทศไทยจึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ (ระเบียบปฏิบัตินี้ใช้บังคับกับผู้ถือหนังสือเดินทางทุกประเภทรวมทั้งผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการด้วย) ทั้งนี้ นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 จะต้องแสดงใบรับรองการลงทะเบียนแจ้งสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (ต.8) ผ่าน https://thaihealthpass.com ก่อนเดินทางถึงประเทศไทย

สำหรับบุคคลทั้ง 42 ประเทศดังกล่าว กรณีที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศอื่นที่มิใช่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง หรือมิได้เดินทางมาจากประเทศที่อยู่ในรายชื่อเขตติดโรคไข้เหลือง ไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรอง International Health Certificate ทั้งนี้ ควรเตรียมใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงว่าตนมิได้พำนักอยู่ในประเทศเขตติดโรคไข้เหลืองมาแสดงต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพื่อป้องกันปัญหาความไม่สะดวกอันอาจจะเกิดขึ้น

รายชื่อประเทศ / ดินแดนที่ประกาศให้เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง

  1. สาธารณรัฐโบลิเวีย (Republic of Bolivia)
  2. สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (Republic of Ecuador)
  3. สาธารณรัฐปานามา (Republic of Panama)
  4. สาธารณรัฐเวเนซุเอลา (Republic of Venezuela)
  5. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federative Republic of Brazil)
  6. ดินแดนเฟรนช์เกียนา (French Guiana)
  7. สาธารณรัฐเปรู (Republic of Peru)
  8. สาธารณรัฐโคลอมเบีย (Republic of Colombia)
  9. สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา (Cooperative Republic of Guyana)
  10. สาธารณรัฐซูรินาเม (Republic of Suriname)
  11. สาธารณรัฐแองโกลา (Republic of Angola)
  12. สาธารณรัฐบุรุนดี (Republic of Burundi)
  13. สาธารณรัฐชาด (Republic of Chad)
  14. สาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี (Republic of Equatorial Guinea)
  15. สาธารณรัฐแกมเบีย (Republic of the Gambia)
  16. สาธารณรัฐกินีบิสเซา (Republic of Guinea Bissau)
  17. สาธารณรัฐมาลี (Republic of Mali)
  18. สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย (Federal Republic of Nigeria)
  19. สาธารณรัฐเซเนกัล (Republic of Senegal)
  20. สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan)
  21. สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (Republic of South Sudan)
  22. สาธารณรัฐเบนิน (Republic of Benin)
  23. สาธารณรัฐแคเมอรูน (Republic of Cameroon)
  24. สาธารณรัฐคองโก (Republic of the Congo)
  25. สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia)
  26. สาธารณรัฐกานา (Republic of Ghana)
  27. สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya)
  28. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย (Islamic Republic of Mauritania)
  29. สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน (Republic of Sierra Leone)
  30. สาธารณรัฐโตโก (Republic of Togo)
  31. ประเทศบูร์กินาฟาโซ (Burkina Faso)
  32. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central African Republic)
  33. สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Republic of Cote d’Ivoire)
  34. สาธารณรัฐกาบอง (Gabonese Republic)
  35. สาธารณรัฐกินี (Republic of Guinea)
  36. สาธารณรัฐไลบีเรีย (Republic of Liberia)
  37. สาธารณรัฐไนเจอร์ (Republic of Niger)
  38. สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda)
  39. สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo)
  40. สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (Republic of Trinidad and Tobago)
  41. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic)
  42. สาธารณรัฐปารากวัย (Republic of Paraguay)